นับตั้งแต่ปี 2020 ที่ผ่านมา หลายองค์กรทั่วโลกต่างประสบปัญหาการเปลี่ยนผ่านจากการทำงานในระบบอนาล็อกไปสู่ดิจิทัล โดยเฉพาะการนำเอากระบวนการทางดิจิทัลมาบูรณาการร่วมกับกระบวนการทำงานรูปแบบเดิม เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และแม้วันเวลาจะผ่านมาจนถึงปี 2023 แล้ว แต่หน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานด้าน ความปลอดภัยสาธารณะ หน่วยพิสูจน์หลักฐาน หรือแม้แต่ระบบศาล ก็ยังคงต้องปรับเปลี่ยนรู้แบบการทำงานให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนไป และทรัพยากรดิจิทัลที่มี เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากที่สุด 

แม้ว่าผู้คนส่วนใหญ่ในหน่วยงานด้านความปลอดภัยจะยังเชื่อมั่นว่า การทำงานแบบเดิม ๆ มีความแม่นยำ และสร้างความปลอดภัยมากกว่า แต่ก็มีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ที่เกิดเหตุการณ์สั่นสะเทือนความปลอดภัยสาธารณะหลายต่อหลายครั้ง นี่เองทำให้ภาครัฐมองหาตัวช่วยเพื่อให้คนเข้าถึงความช่วยเหลือฉุกเฉินได้ง่ายมากขึ้น และเพื่อให้การช่วยเหลิอผู้ประสบเหตุอย่างทันท่วงที

นอกจากนี้สิ่งที่ทำให้ภาครัฐ หรือ หน่วยงานด้านความปลอดภัยสาธารณะ ต้องปรับเปลี่ยนการทำงานสู่การทำงานแบบดิจิทัลมากขึ้น นั่นก็เพราะภาครัฐเริ่มประสบปัญหาด้านทรัพยากรบุคคล และสิ่งที่จะสามารถตอบโจทย์ปัญหาเหล่านี้ได้ ก็คือการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือ และนี่คือทิศทางของเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยสาธารณะที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในปี 2023 นี้

Cloud and Mobile Technologies

Digital Solution ต่าง ๆ โดยเฉพาะบนระบบคลาวด์ และอุปกรณ์พกพา เริ่มเข้ามามีบทบาทในการทำงานของหน่วยงานภาครัฐมากขึ้น หลังจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ครั้งใหญ่ ที่ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน ทำให้หลาย ๆ หน่วยงานต้องทำการเปลี่ยนผ่านการทำงานจากบนกระดาษสู่ระบบคลาวด์เพื่อลดการมีปฎิสัมพันธ์ต่อหน้า สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับองค์กรภาคเอกชนมาเกือบทศวรรษแล้ว แต่กับหน่วยงานภาครัฐยังถือเป็นสิ่งที่ค่อนข้างใหม่ และกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานต่าง ๆ เช่น

  1. หน่วยงานบังคับใช้กฏหมาย และหน่วยงานป้องกันอัคคีภัย

    CAD และ RMS เป็นเครื่องมือการทำงานของเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยสาธารณะที่สำคัญปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์ในรถยนต์ได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังมีการพัฒนาให้สามารถเรียกดู แบ่งปัน จัดเก็บ และส่งต่อข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีแจ้งเหตุฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที โดยสามารถนำข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพ เสียง หรือข้อความต่าง ๆ มาใช้ในการประมวลผลได้ โดยไม่ติดปัญหาเรื่องการประสานงานเช่นในอดีต จึงส่งผลดีต่อกระบวนการทำงานทั้งภายในองค์กร และภาคสนาม ดังนี้

    ในองค์กร – การเปลี่ยนถ่ายระบบการทำงานต่าง ๆ สู่ระบบคลาวด์ ด้วยโมเดล as-a-service สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการอัปเกรดโปรแกรม หรือ การเปลี่ยนฮาร์ดแวร์ให้ทันสมัย อีกทั้งยังสามารถช่วยลดภาระด้านเทคโนโลยีของหน่วยงานบริการสาธารณะ ทำให้การทำงานยืดหยุ่นได้มากขึ้น อีกทั้งเมื่อมีการถ่ายโอนข้อมูล ก็ไม่ทำให้กระบวนการทำงานต้องสะดุด สะดวกต่อผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบ 

    นภาคสนาม – การได้รับข้อมูลแบบ Real Time ส่งผลดีต่อการตอบสนองต่อเหตุการณ์ โดยแอปพลิเคชันจากอุปกรณ์พกพา หรือที่ติดตั้งบนรถยนต์ จะช่วยตรวจสอบเหตุการณ์ต่าง ๆ จากเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในพื้นที่ หรือ ทรัพยากรต่าง ๆ ที่ช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยได้ เช่น ระบบ SOS Alert จาก SOS Pole ที่สามารถแจ้งเหตุฉุกเฉิน และประสานงานไปยังหน่วยงานฉุกเฉินต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที

  2. ห้องปฏิบัติการอาชญากรรม และนิติวิทยาศาสตร์

    ปัจจุบันห้องปฏิบัติการอาชญากรรมและนิติวิทยาศาสตร์ มีการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการคดีต่าง ๆ ผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน นอกจากนี้ยังมีการใช้ซอฟต์แวร์เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และลดค่าใช้จ่าย เช่น เทคโนโลยีที่คอบสนองต่องานด้านนิติวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันเหตุอาชญากรรมต่าง ๆ มีความซับซ้อนมากขึ้น และด้วยการทำงานที่ต้องร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ระบบคลาวด์จึงสามารถตอบโจทย์กรณีที่ต้องมีการร่วมมือจากภาคส่วนอื่น ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหตุอาชญากรรมเหล่านั้นคลี่คลายโดยเร็วที่สุด ขณะเดียวกันการใช้ระบบคลาวด์ของหน่วยงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ยังช่วยลดการใช้ทรัพย์การด้าน IT ที่มีราคาแพง และมีการอัปเดตใหม่ ๆ ตลอดเวลาลงได้อีกด้วย

  3. ระบบศาล

    ปัจจุบัน ระบบพิจารณาคดีกำลังเปลี่ยนผ่านจากการพิจารณาคดีที่อาศัยเอกสารในรูปแบบกระดาษ เข้าสู่ความทันสมัยเพื่อให้ง่ายต่อการจัดการมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเอกสาร การยื่นฟ้อง การเข้าถึงบันทึกพิจารณาคดี การตรวจสอบคำขอใบสำคัญแสดงสิทธิ และอื่น ๆ นอกจากนี้ระบบยังช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญระหว่างหน่วยงานที่บังคับใช้กฏหมาย และอัยการ เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการใช้อีเมลเพื่อส่งหมายศาล หรือเอกสารที่สำคัญให้กับเหยื่อ และจำเลยด้วย

เทคโนโลยีเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงาน และปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง

แม้ว่าจะมีการเปิดเผยข้อมูลมากมายต่อชุมชนเกี่ยวกับหน่วยงานความปลอดภัยสาธารณะ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังรู้สึกว่า หน่วยงานด้านความปลอดภัยสาธารณะยังขาดความโปร่งใส เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกามีประชาชนมากกว่า 33% ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า ระบบการทำงานของตำรวจยังไม่โปร่งใสมากพอ โดยเอกสารเผยแพร่งานวิจัยของสถาบันวิทยาการอาชญากรรมของมหาวิทยาลัยซินซินนาติ เผยว่า ความโปร่งใสในการบังคับใช้กฎหมายควรรวมถึงการกำหนดนโยบาย ขั้นตอน ข้อมูลสารสนเทศ และการตัดสินใจที่เปิดเผยต่อสาธารณะ”  

นอกจากนี้กลยุทธ์ความโปร่งใสเหล่านี้ควรรวมถึงวิธีการส่งเสริมความรับผิดชอบด้วย โดยเทคโนโลยียังสามารถทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ จากการปรับปรุงความโปร่งใสในการดำเนินงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ระบบตำรวจที่มีความเที่ยงตรงยุติธรรมต้องมีเครื่องมือที่สามารถเชื่อมต่อกัน และสามารถทำงานร่วมกันกับชุมชน และผู้ที่มีส่วนใดส่วนเสียในภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อป้องกันอาชญากรรมได้ อาทิ การให้อำนาจแก่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้บริการด้านสังคมในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต หรือการรวบรวมคำติชมจากประชาชนที่ใช้บริการสาธารณะผ่านแบบสำรวจหลังการใช้งาน ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการปรับปรุงการทำงาน การรับรู้ในแง่บวก อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาตั้งแต่เนิ่น ๆ 

คำติชมจากผู้ใช้งานยังช่วยแสดงให้เห็นว่า หน่วยงานมีการเปลี่ยนแปลงด้านการให้บริการอย่างไร นอกจากนี้คำตอบจากแบบสอบถามยังช่วยให้หน่วยงานสามารถแก้ปัญหา และส่งเสริมขวัญกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ รวมไปถึงการสรรหาการฝึกอบรมที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในอนาคตยังมีแนวโน้มว่า การกระบวนการการทำงานของศาลจะมีการนำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ในการแบ่งปันข้อมูลหรือหลักฐานจากแหล่งต่าง ๆ ในแต่ละขั้นตอนของการพิจารณาคดี เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมมือกันฟื้นฟู และคืนคนดีสู่สังคม

ปัจจุบันปัญหาการเยียวยาเหยื่อจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ยังคงเป็นไปได้ยาก ดังนั้นจึงมีการนำเอาการสื่อสารที่ทันสมัย อาทิ อีเมล การส่งข้อความ หรือ การสื่อสารทางโซเชียลมีเดีย มาช่วยให้เหยื่อทราบความเคลื่อนไหวของการพิจารณาคดีต่าง ๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การที่กรมตำรวจของรัฐอาริโซนาได้ใช้การแจ้งเตือนอัตโนมัดิ แจ้งให้เหยื่อทราบขั้นตอนการทำงานของคดี และกระบวนการสืบสวน

Service with Care: AI, Automation, and Call Handling

ปัจจุบันหน่วยงานภาคเอกชนได้พลิกโฉมอย่างรวดเร็ว จากการนำเอาปัญญาประดิษฐ์ ระบบอัตโนมัติ และ Machine Learning มาใช้ในการทำงาน ขณะที่หน่วยงานด้านความปลอดภัยสาธารณะได้มีการนำเอาเทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้เพื่อปรับปรุงการทำงานของหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นการรับสายเหตุฉุกเฉิน การมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชน และการให้บริการผู้ใช้งาน รวมไปถึงการเยียวยาเหยื่อ ซึ่งนี่คือบางส่วนในการทำงานของหน่วยงานความปลอดภัยสาธารณะ ที่ได้นำเอาระบบ AI และระบบอัตโนมัติมาใช้ในการจัดการงาน

  1. การสื่อสารแบบอัตโนมัติ

    พลเมืองส่วนใหญ่ต่างคาดหวังการให้บริการที่เป็นเลิศ โดยเฉพาะหน่วยงานด้านความปลอดภัยสาธารณะที่ประชาชนล้วนต้องการมาตรฐานการสื่อสารที่ดี เหมือนภาคเอกชนที่มีการสื่อสารกับลูกค้าที่ดีเยี่ยม อาทิ การจัดส่งสินค้าภายในวันเดียวกัน หรือการสั่งพิซซ่าง่าย ๆ ด้วยการใช้อีโมจิ 

    ระบบ New Generation 9-1-1 (NG9-1-1) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ถือเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนของการพัฒนาการสื่อสารด้วยระบบอัตโนมัติเพื่อหน่วยงานด้านความปลอดภัยสาธารณะ โดย NG9-1-1 ถูกพัฒนาให้นำเอาระบบโปรโตคอลอินเทอร์เน็ต (Internet Protocol – IP) มาใช้ในการรับเหตุฉุกเฉิน โดยสามารถรับข้อความ รูปภาพ และวิดีโอจากอุปกรณ์ต่าง ๆ  ได้ ไม่เพียงเท่านั้นยังมีการนำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น การระบุตำแหน่งอัตโนมัติ ฟีดวิดีโอแบบเรียลไทม์ และการทำงานร่วมกันกับระบบตอบสนองเหตุฉุกเฉินอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ประสบเหตุสามารถใช้บริการ และเข้าถึงความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที

    นอกจากนี้ระบบการสื่อสารอัตโนมัติยังสามารถนำมาใช้เพื่อช่วยเหลือการทำงานของตำรวจ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการช่วยเหลือด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งข่าวสาร หรือ ตอบข้อสอบถามต่าง ๆ ให้เป็นข้อมูลปัจจุบันมากที่สุด จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ซึ่งรวมถึงการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมด้วย

    การสื่อสารด้วยระบบอัตโนมัติดังกล่าวยังเป็นมีกระบวนการทำงานที่ไม่ซับซ้อน อีกทั้งยังสามารถเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูลที่มีเพื่อให้ความรู้ แจ้งความคืบหน้า และมอบอำนาจให้เหยื่ออาชญากรรม เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน

    ไม่เพียงเท่านั้น ระบบการสื่อสารดังกล่วยังช่วยให้กรมตำรวจสามารถรวบรวมข้อมูลการประเมินการให้บริการได้แบบเรียลไทม์ เพื่อนำไปประเมินและปรับปรุงการทำงานได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลดีต่อการทำงานของกรมตำรวจในการให้รับบริการประชาชน
  2. ปัญญาประดิษฐ์ (AI)

    นอกจากระบบการสื่อสารอัตโนมัติ NG9-1-1 ยังได้นำเอาระบบปัญญาประดิษฐ์ AI มาใช้ โดยจากผลการปฏิบัติงานพบว่า  40% ของการโทรไปยัง 9-1-1 AI สามารถช่วยจัดการสายที่ไม่ฉุกเฉิน โดยการส่งต่อไปยังหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ของพวกเขาโดยตรง อีกทั้งยังรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากพลเมืองเพื่อส่งรายงานไปยังกรมตำรวจ เพื่อตรวจสอบและสรุปรายงาน ซึ่งช่วยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ และสามารถช่วยให้สายตรวจสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น

    การใช้เทคโนโลยี AI และระบบอัตโนมัติยังสามารถช่วยให้กระบวนการทำงานมีความความโปร่งใสมากขึ้น รวมไปถึงช่วยลดขั้นตอนการทำงานแบบแมนนวลที่ใช้เวลานาน สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การประหยัดเวลา และงบประมาณที่ใช้ในหน่วยงานด้านความปลอดภัยสาธารณะ อีกทั้งยังช่วยให้หน่วยงานสามารถบริการชุมชนได้ดี และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีกำลังจะกลายเป็นปัจจัยหลักในการดำเนินงานด้านความปลอดภัย ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานความปลอดภัยสาธารณะ ห้องปฏิบัติการทางนิติวิทยาศาสตร์ และระบบศาล ที่จะต้องนำเอาเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยเหล่านี้ไปใช้ ในการพัฒนาให้ระบบการดูแลรักษาความปลอดภัยสาธารณะของภาครัฐ มีมาตรฐานการให้บริการทัดเทียมการให้บริการของภาคเอกชนที่พัฒนาอย่างสม่ำเสมอ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อสังคมที่ปลอดภัยในทุกมิติอย่างแท้จริง

ที่มา – versaterm.com

Related Posts
  • โอลิมปิกปีนี้ มี AI ช่วยรักษาความปลอดภัย

    คืนนี้แล้วที่จะมีพิธีเปิดมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก อย่าง “โอลิมปิก” ครั้งที่ 33 ที่มีประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ ซึ่งปีนี้จัดขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส  เมื่อมีการจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับโลกแบบนี้ แน่นอนว่าสิ่งสำคัญคือแผนการรองรับแฟนกีฬา จำนวนมหาศาลที่เดินทางไปยังฝรั่งเศส รวมถึงมาตรการการรักษาความปลอดภัย ซึ่งที่น่าสนใจคือปีนี้มีการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาประยุกต์ใช้ด้วย  […]

  • เทคโนโลยีเพื่อ ความปลอดภัยสาธารณะ ในปี 2023 

    นับตั้งแต่ปี 2020 ที่ผ่านมา หลายองค์กรทั่วโลกต่างประสบปัญหาการเปลี่ยนผ่านจากการทำงานในระบบอนาล็อกไปสู่ดิจิทัล โดยเฉพาะการนำเอากระบวนการทางดิจิทัลมาบูรณาการร่วมกับกระบวนการทำงานรูปแบบเดิม เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และแม้วันเวลาจะผ่านมาจนถึงปี 2023 แล้ว แต่หน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานด้าน ความปลอดภัยสาธารณะ หน่วยพิสูจน์หลักฐาน หรือแม้แต่ระบบศาล […]

Comments
Write A Comments