1-1-2 ฉุกเฉินเบอร์ด่วน

By admin    |    18 Mar 2023    
emergency number

ความรวดเร็วในการเข้าถึงความช่วยเหลือในเหตุฉุกเฉิน ถือเป็นสิ่งที่หน่วยงานด้านสาธารณภัยในทุกประเทศทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ เพราะยิ่งผู้ประสบเหตุ หรือผู้พบเห็นเหตุการณ์ แจ้งไปยังหน่วยงานฉุกเฉินได้เร็วเท่าไร ก็ยิ่งช่วยลดความสูญเสียในชีวิต และทรัพย์สินลงได้มากเท่านั้น ดังนั้นหลายประเทศจึงได้กำหนด เบอร์ฉุกเฉิน ขึ้นสำหรับแต่ละหน่วยงาน เพื่อการติดต่อที่ง่ายและรวดเร็ว

112 ถือเป็น เบอร์ฉุกเฉิน ที่ถูกกำหนด และใช้อย่างแพร่หลายในประเทศเครือสหภาพยุโรป โดยมีการนำมาใช้ครั้งแรกในปี 1976 เพื่อเป็นเบอร์ฉุกเฉินสากล ต่อมาในปี 1999 ได้มีการก่อตั้ง European Emergency Number Association ขึ้น เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการให้บริการสายด่วนฉุกเฉิน 112 นอกจากนี้ยังได้มีการรณรงค์เรื่องการตระหนักรู้เกี่ยวกับเบอร์ฉุกเฉินสากลดังกล่าว ด้วยการก่อตั้งวัน European 112 Day ขึ้นในปี 2009 เพื่อรณรงค์ให้ผู้คนใช้เบอร์ 112 เพื่อแจ้งเหตุฉุกเฉิน ถือเป็นภูมิภาคหนึ่งของโลกที่มีการใช้เบอร์ฉุกเฉินสากลอย่างเป็นเอกภาพ

ทั้งนี้จุดเด่นของเบอร์ 112 คือ เป็นเบอร์ฉุกเฉินที่สามารถโทรออกได้แม้ในพื้นที่ที่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ หรือไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต อีกทั้งยังสามารถระบุตำแหน่งของผู้โทรได้ทันที แม้ผู้ที่แจ้งเหตุจะไม่ทราบว่าตัวเองอยู่ที่ใด และในปัจจุบันก็เริ่มมีหลาย ๆ ประเทศนอกสหภาพยุโรปปรับเปลี่ยนเบอร์ฉุกเฉินมาใช้เบอร์ 112 เพื่อความสะดวกต่อการจดจำ และเป็นสากลมากขึ้น

สำหรับในประเทศไทย ไม่ได้มีการนำเอาเบอร์ 112 มาใช้เป็นเบอร์ฉุกเฉินกลาง เนื่องจากได้มีการนำเอาเบอร์ 191 มาใช้ เพื่อให้ประชาชนติดต่อกับหน่วยงานตำรวจ และประสานงานต่อไปยังหน่วยงานอื่น ๆ ก่อนแล้ว นอกจากนี้ยังมีเบอร์คอลเซ็นเตอร์ของอีกหลาย ๆ หน่วยงานที่สามารถโทรติดต่อได้โดยตรงเช่นกัน อาทิ 

  • แจ้งเหตุด่วน – เหตุร้าย โทร. 191
  • แจ้งเหตุไฟไหม้ โทร. 199
  • ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155
  • ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
  • สายด่วนจราจร โทร. 1197
  • แจ้งรถหาย โทร. 1192
  • ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท โทร. 1146
  • ศูนย์จราจร อุบัติเหตุ จส.100 โทร. 1137
  • สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน โทร. 1667
  • หน่วยแพทย์กู้ชีวิต วชิรพยาบาล โทร. 1554
  • หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน (กทม.) โทร. 1646
  • หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน (ทั่วไทย)  โทร. 1669

ทั้งนี้ปัจจุบันระบบ 191 กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาระบบให้สามารถเชื่อมต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยโครงการมีกำหนดแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2567 ซึ่งการปรับปรุงระบบนี้เป็นถือเป็นความหวังครั้งใหม่ที่จะช่วยให้ประชาชนได้รับการเข้าถึง ความปลอดภัยสาธารณะ ได้รับความช่วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดความสูญเสีย รวมถึงเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชนในทุกมิติ 

ขอบคุณข้อมูลจาก

eena.org

Related Posts
  • โอลิมปิกปีนี้ มี AI ช่วยรักษาความปลอดภัย

    คืนนี้แล้วที่จะมีพิธีเปิดมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก อย่าง “โอลิมปิก” ครั้งที่ 33 ที่มีประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ ซึ่งปีนี้จัดขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส  เมื่อมีการจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับโลกแบบนี้ แน่นอนว่าสิ่งสำคัญคือแผนการรองรับแฟนกีฬา จำนวนมหาศาลที่เดินทางไปยังฝรั่งเศส รวมถึงมาตรการการรักษาความปลอดภัย ซึ่งที่น่าสนใจคือปีนี้มีการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาประยุกต์ใช้ด้วย  […]

  • สายด่วนฉุกเฉินโทรไม่ติด ปัญหาใหญ่ที่กระทบหลายภาคส่วน

    เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมา BT หรือ BT Group บริษัทโฮลดิ้งโทรคมนาคมอังกฤษ ถูกปรับเป็นเงินจำนวน 17.5 ล้านปอนด์ หลังเกิดเหตุเบอร์โทรฉุกเฉิน 999 ขัดข้องเป็นเวลานาน เมื่อช่วงฤดูร้อนปีที่แล้ว […]

  • AI ความปลอดภัยสาธารณะ
    พัฒนา AI เพื่อเสริมเกราะ ‘ความปลอดภัยสาธารณะ’

    ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถือเป็นอีกสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก เห็นได้จากที่ AI ได้กลายมาเป็นผู้ช่วยด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ แม้จะมีนักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิชาการไม่น้อย ออกมาเตือนว่า AI จะสร้างปัญหาให้กับมนุษย์ ถึงกับกล่าวว่ามันอาจทำให้มนุษยชาติต้องสูญสิ้น […]

Comments
Write A Comments