-
เครือข่ายโทรคมนาคม ถูกโจมตีได้เหมือนกัน
เป็นที่ฮือฮาเมื่อข่าวคราวการโจมตีและสร้างความวุ่นวายในงานมหกรรมกีฬาของมวลมนุษยชาติ หรือ “โอลิมปิก” ในครั้งนี้ เริ่มทวีความรุนแรงขึ้น หลังเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา สำนักข่าวและหนังสือพิมพ์ของฝรั่งเศส เริ่มตีข่าวถึงการโจมตีที่พุ่งเป้าไปที่เครือข่ายโทรคมนาคมในประเทศ 6 แห่ง ขณะที่ก่อนหน้านี้ก็มีการลอบวางเพลิงทำลายระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง จนไม่สามารถออกจากชานชาลาได้ นับว่าเป็นความท้าทายสำหรับการรักษาความปลอดภัยงานมหกรรมระดับโลก การโจมตีโทรคมนาคมเกิดขึ้นได้ง่าย แต่รับมือยาก […]
-
โอลิมปิกปีนี้ มี AI ช่วยรักษาความปลอดภัย
คืนนี้แล้วที่จะมีพิธีเปิดมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก อย่าง “โอลิมปิก” ครั้งที่ 33 ที่มีประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ ซึ่งปีนี้จัดขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อมีการจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับโลกแบบนี้ แน่นอนว่าสิ่งสำคัญคือแผนการรองรับแฟนกีฬา จำนวนมหาศาลที่เดินทางไปยังฝรั่งเศส รวมถึงมาตรการการรักษาความปลอดภัย ซึ่งที่น่าสนใจคือปีนี้มีการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาประยุกต์ใช้ด้วย […]
-
สายด่วนฉุกเฉินโทรไม่ติด ปัญหาใหญ่ที่กระทบหลายภาคส่วน
เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมา BT หรือ BT Group บริษัทโฮลดิ้งโทรคมนาคมอังกฤษ ถูกปรับเป็นเงินจำนวน 17.5 ล้านปอนด์ หลังเกิดเหตุเบอร์โทรฉุกเฉิน 999 ขัดข้องเป็นเวลานาน เมื่อช่วงฤดูร้อนปีที่แล้ว […]
เหตุการณ์กราดยิง รับมือและป้องกันอย่างไรให้ปลอดภัย
ต้องยอมรับว่านับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องพบกับ เหตุการณ์กราดยิง หลายครั้ง และทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์ก็ทำให้เกิดการสูญเสียของชีวิตและทรัพย์สิน และความน่ากลัวของเหตุการณ์นี้คือ ผู้ก่อเหตุมักจะเป็นบุคคลที่ไม่คาดคิด และไม่มีสัญญาณใดเป็นลางบอกเหตุแม้แต่น้อย อีกทั้งผู้ก่อเหตุส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ประสงค์ต่อทรัพย์สิน แต่ประสงค์จะทำเพื่อตอบสนองแรงจูงใจบางอย่าง โดยในบางครั้งแทบไม่เกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต
ทั้งนี้มีการศึกษาทั้งจากใน และต่างประเทศมากมาย เอ่ยถึงสาเหตุของการกราดยิง และแรงจูงใจในการก่อเหตุ เช่น การศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจในการก่อความรุนแรง โดย รศ.ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต นักจิตวิทยาการปรับพฤติกรรม อดีตคณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้อธิบายว่า พฤติกรรมการก่อความรุนแรงนั้นไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมการเลียนแบบเสมอไป อีกทั้งยังสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เพราะในปัจจุบัน สังคมมีแต่ความเร่งรีบ คนมีความอดทนน้อยลง มีความใจร้อนมากขึ้น ทำให้มีนิสัยรุนแรง และแสดงออกทางพฤติกรรมที่รุนแรง และเมื่อมีสื่อนำเสนอเหตุการณ์ หรือวิธีการก่อความรุนแรง ก็จะยิ่งไปกระตุ้นให้ผู้ร้ายก่อเหตุได้ง่ายขึ้น
ในการก่อเหตุความรุนแรง บุคคลที่มีแนวโน้มจะก่อความรุนแรงมักเป็นคนที่มองโลกในแง่ร้าย รู้สึกว่าตัวเองถูกกระทำ หรือไม่ได้รับความสนใจ และการยอมรับจากสังคม
ขณะที่ ดร.นัทธี จิตสว่าง นักอาชญาวิทยา อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้อธิบายว่า จากสถิติในต่างประเทศ ผู้ก่อเหตุกราดยิงในที่สาธารณะส่วนใหญ่มักจะมีพฤติกรรมเก็บตัวโดดเดี่ยว ไม่สุงสิงกับผู้อื่น หรือมีเหตุการณ์ฝังใจเกี่ยวกับความรุนแรงตั้งแต่ในวัยเด็ก ได้รับความกดดันจากในโรงเรียน หรือ ที่ทำงาน และอาจมีรสนิยมชอบความรุนแรง หรือ มีการคลุกคลีกับความรุนแรงมาตลอด
เช่นเดียวกับผลสำรวจจาก The Violence Project ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับอาชญากร ที่ระบุว่า ความเจ็บปวดในวัยเด็กเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ความรุนแรงส่วนใหญ่ และสิ่งที่ผลักให้ผู้ร้ายทำการก่อเหตุคือความสิ้นหวัง ความเกลียดชังในตัวเอง การตัดขาดจากผู้คน หรือ โดนขับไล่ออกจากสังคม และหากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที สิ่งเหล่านี้ก็อาจจะกระตุ้นให้พวกเขาก่อเหตุร้าย ไม่ว่าจะเป็นการจบชีวิตตัวเอง หรือ นำความเกลียดชังที่มีใช้เป็นแรงผลักดันในการทำร้ายผู้อื่น
เหตุการณ์กราดยิงในไทย เกิดจากอะไร ?
จากเหตุกราดยิงในประเทศที่ผ่านมาหลาย ๆ ครั้ง มีการนำเสนอว่า สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดเหตุร้ายมักเกิดขึ้นจากการความโกรธแค้น ไม่ได้รับความยุติธรรมจากหน่วยงาน หรือจากสังคมที่ตัวเองอาศัยอยู่ กลายเป็นแรงกระตุ้นผลักดันให้ก่อเหตุ ทั้งนี้ยังรวมถึงอาจเกิดจากการใช้ยาเสพติด หรือความผิดปกติทางจิต
นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสังเกตว่า สิ่งที่ผลักดันให้ก่อเหตุกราดยิงในบ้านเรามากขึ้น อาจเกิดจากการที่สามารถครอบครองปืนได้ง่าย โดยมีสถิติพบว่า จำนวนของผู้ครอบครองปืนในประเทศไทยมีสัดส่วนที่สูงกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน โดยยังไม่รวมการครอบครองปืนเถื่อนที่มีการซื้อขายอย่างผิดกฎหมาย
เหตุการณ์กราดยิง รับมืออย่างไร ?
แน่นอนว่าไม่มีใครอยากเจอเหตุการณ์ในลักษณะนี้ แต่ก็ไม่อาจรู้ได้ว่าวันไหนภัยในลักษณะนี้จะมาเยือน ดังนั้นจึงควรมีการเตรียมพร้อมรับมือ และรู้จักวิธีป้องกันตัวจากเหตุกราดยิง ทั้งนี้จากการอ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานสอบสวนกลาง หรือ FBI เว็บไซต์ Federal Bureau of Investigation (FBI) ได้เคยระบุถึงหลักการเอาตัวรอดเมื่อเผชิญหน้าเหตุกราดยิงไว้ 3 วิธี โดยเรียกวิธีนี้ว่า Run Hide Fight (หนี ซ่อน สู้)
หนี คือ วิ่งหนีให้ห่างจากจุดเกิดเหตุมากที่สุด
เมื่อได้ยินเสียงดังผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นเสียงปืน เสียงระเบิด คนกรีดร้อง หรือเสียงประกาศเตือนต่าง ๆ ให้รีบทิ้งสัมภาระให้เหลือติดตัวน้อยชิ้นที่สุด แล้วสำรวจพื้นที่รอบ ๆ วิ่งหนีไปยังทางออกที่ใกล้ที่สุด โดยหลีกเลี่ยงการใช้ลิฟต์ และให้ใช้บันไดแทน
ซ่อน คือ หลบซ่อนในที่ปลอดภัย
หากพิจารณาแล้วว่า วิ่งหนีไม่ทัน ให้หาที่ซ่อนตัวในห้อง ล็อกให้แน่นหนา ระหว่างที่ซ่อนตัวพยายามตั้งสติ ไม่ส่งเสียงร้องตกใจ และปิดเสียงเครื่องมือสื่อสารทั้งหมด หาจังหวะส่งข้อความถึงคนใกล้ตัวหรือตำรวจ หรือหากไม่ซ่อนในห้อง ให้หลบหลังกำแพงหรือหมอบอยู่ใต้โต๊ะ คลานให้ต่ำเข้าไว้ เพื่อลดความเสี่ยงในการตกเป็นเป้า
สู้ คือ ต่อสู้เมื่อจนมุม
กรณีตกอยู่ในเหตุการณ์คับขันที่สุด ต้องประจันหน้ากับมือปืน ทางเลือกสุดท้ายคือต้องเสี่ยง สู้เพื่อเอาชีวิตรอด โดยให้ควานหาของแข็งที่อยู่ใกล้มือ ขว้างใส่มือปืน รอจังหวะเปลี่ยนกระสุนแล้วกระโดดเข้าปล้ำ
เหตุการณ์กราดยิง ป้องกันได้อย่างไร ?
จากข้อมูลต่าง ๆ ที่นำเสนอ เหตุการณ์กราดยิงมักเกิดถูกเตรียมการไว้ล่วงหน้า และผู้ก่อเหตุจะต้องพบเจอกับเหตุการณ์ที่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้ตัดสินใจก่อเหตุมาแล้วอย่างน้อยระยะหนึ่ง ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์กราดยิงอาจต้องเริ่มจัดการตั้งแต่ต้นเหตุ โดยควรมีการเข้าถึงบุคคลที่มีความเสี่ยงจะก่อความรุนแรง เพื่อได้รับการรักษาปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต โดยการเปิดใจรับฟัง ไม่มีอคติ ไม่ตัดสิน และมีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น แม้ว่าวิธีเหล่านี้จะไม่สามารถป้องกันได้ 100% แต่ก็สามารถช่วยให้ผู้ที่มีปัญหารู้สึกว่าตนเองไม่ได้ถูกทอดทิ้ง หรือถูกตัดขาดจากสังคม และแสดงให้เห็นว่าปัญหาที่พบสามารถแก้ไขได้ โดยไม่ต้องใช้ความรุนแรง
นอกจากนี้ การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน ก็เป็นอีกปัจจัยที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์กราดยิงในอนาคตได้เช่นกัน โดยสิ่งสำคัญก็คือการสร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้คนว่า เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่ควรลอกเลียนแบบ หนึ่งในนั้นคือการรณรงค์ไม่ให้เอ่ยถึงชื่อ หรือประวัติของผู้ก่อเหตุ เพื่อไม่ให้เห็นว่าการก่อเหตุดังกล่าวเป็นการทำให้ผู้ก่อเหตุมีชื่อเสียง ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันพฤติกรรมการลอกเลียนแบบ
นี่เป็นเพียงวิธีป้องกันตัวเองจากเหตุกราดยิงในเบื้องต้น ทั้งนี้ยังมีภัยรอบตัวอีกมากที่อาจเกิดขึ้นได้แบบไม่คาดคิด ดังนั้น จะดีกว่ามั้ยหากมีสติอยู่เสมอ รู้วิธีเอาตัวรอด โดยรู้จักใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ หมั่นอัปเดตข่าวสาร บันทึกเบอร์ติดต่อฉุกเฉิน สำหรับสถานการณ์ต่าง ๆ หรือ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่ช่วยเตือนภัยไว้ รวมถึงไม่พาตัวเองไปอยู่ในสถานการณ์ หรือสถานที่เสี่ยง เป็นต้น
ที่มา :
- Federal Bureau of Investigation: FBI
- The matter
- Washington Post
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย