human trafficking

การค้ามนุษย์ ยังคงเป็นอาชญากรรมข้ามชาติที่สร้างความเสียหายร้ายแรง ทั้งในเรื่องของมนุษยธรรม และปัญหาด้านเศรษฐกิจ ที่ผ่านมาจึงมีความพยายามหาแนวทางป้องกันและแก้ไขมากมาย โดยปัจจุบันการเข้ามาของเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยทำให้ระบบการรักษาความปลอดภัยทั้งทางภายภาพ และทางไซเบอร์แข็งแกร่งยิ่งขึ้น แต่เทคโนโลยีดังกล่าวจะสามารถนำมาช่วยแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ได้จริงหรือ ?

หลายปีที่ผ่านมา ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 มีสถิติที่พบว่า ปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์มีอัตราที่สูงขึ้นจนน่าตกใจ โดยในปี พ.ศ. 2560 – 2564 มีสถิติการรับแจ้งคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ในประเทศไทยกว่า 1 แสนคดี ขณะที่ในเดือนมกราคม 2566 มีสถิติการรับแจ้งคดีการค้ามนุษย์ถึง 47 คดี สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าการค้ามนุษย์ยังคงเป็นอาชญากรรมที่เป็นภัยคุกคามต่อประเทศชาติ และถึงแม้ว่าจะมีมาตรการที่ช่วยป้องกันแล้วก็ยังไม่สามารถลดอัตราการเกิดเหตุได้ดีพอ โดยสาเหตุที่ทำให้อัตราคดีค้ามนุษย์ยังคงเพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากมาตรการด้านการรักษาความปลอดภัย และมาตรการด้านการสืบสวนสอบสวนยังไม่รัดกุมมากพอ อีกส่วนเกิดจากการที่เหล่าอาชญากรมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อหลอกลวง และก่ออาชญากรรมกันมากขึ้น นี่จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า หากจะปราบปรามการค้ามนุษย์ได้จริง อาจใช้เพียงความสามารถของมนุษย์ไม่ได้

ด้วยเหตุนี้หลายประเทศจึงเริ่มเอาเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อช่วยจัดการปัญหาการค้ามนุษย์ให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น อย่างเช่น การไต่สวนคดีผ่านทาง Video Conference ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยให้เหยื่อ รวมทั้งพยานที่มีความสำคัญต่อคดี รู้สึกปลอดภัย ช่วยลดการเผชิญหน้าระหว่างเหยื่อ และผู้ต้องหา ขณะที่เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน ก็สามารถนำเทคโนโลยีด้านการรักษาความปลอดภัยมาเชื่อมต่อระบบ ให้สามารถเก็บข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกล้องวงจรปิด ข้อมูลดิจิทัล หรือข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่นำข้อมูลที่ได้รับมาใช้เพื่อการวิเคราะห์แผนการป้องกัน หรือเพื่อสืบสวนหาผู้บงการ อาชญกรตัวจริงได้   

นอกจากนี้ที่ผ่านมายังการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการฟื้นฟูสภาพจิตใจของเหยื่อ หรือผู้รอดชีวิต ให้สามารถกลับเข้าสู่สังคมได้ โดยหากมองย้อนกลับไปที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาคดีค้ามนุษย์ จะเห็นว่าเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ไม่ได้จำกัดแค่เพียงในเรื่องของการแก้ปัญหา แต่ยังสามารถนำมาใช้เพื่อยกระดับทักษะของเจ้าหน้าที่ รวมถึงช่วยสร้างความตระหนักรู้ด้านความปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นที่จะช่วยลดปัญหาการค้ามนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทว่าหากจะลดปัญหาการค้ามนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเห็นผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจน ผู้ที่เกี่ยวข้อง และองค์กรต่าง ๆ ควรต้องปรับมุมมอง ร่วมบรูณาการ รวมถึงปรับตัวให้ทันท่วงที ด้วยเพราะในทุกวินาทีที่ผ่านไปยังคงมีเหยื่อกระบวนการค้ามนุษย์เกิดขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก

Related Posts
  • โอลิมปิกปีนี้ มี AI ช่วยรักษาความปลอดภัย

    คืนนี้แล้วที่จะมีพิธีเปิดมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก อย่าง “โอลิมปิก” ครั้งที่ 33 ที่มีประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ ซึ่งปีนี้จัดขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส  เมื่อมีการจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับโลกแบบนี้ แน่นอนว่าสิ่งสำคัญคือแผนการรองรับแฟนกีฬา จำนวนมหาศาลที่เดินทางไปยังฝรั่งเศส รวมถึงมาตรการการรักษาความปลอดภัย ซึ่งที่น่าสนใจคือปีนี้มีการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาประยุกต์ใช้ด้วย  […]

  • สายด่วนฉุกเฉินโทรไม่ติด ปัญหาใหญ่ที่กระทบหลายภาคส่วน

    เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมา BT หรือ BT Group บริษัทโฮลดิ้งโทรคมนาคมอังกฤษ ถูกปรับเป็นเงินจำนวน 17.5 ล้านปอนด์ หลังเกิดเหตุเบอร์โทรฉุกเฉิน 999 ขัดข้องเป็นเวลานาน เมื่อช่วงฤดูร้อนปีที่แล้ว […]

  • AI ความปลอดภัยสาธารณะ
    พัฒนา AI เพื่อเสริมเกราะ ‘ความปลอดภัยสาธารณะ’

    ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถือเป็นอีกสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก เห็นได้จากที่ AI ได้กลายมาเป็นผู้ช่วยด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ แม้จะมีนักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิชาการไม่น้อย ออกมาเตือนว่า AI จะสร้างปัญหาให้กับมนุษย์ ถึงกับกล่าวว่ามันอาจทำให้มนุษยชาติต้องสูญสิ้น […]

Comments
Write A Comments