-
กรณีศึกษาปัญหาน้ำท่วม เมื่อข้อมูลสำคัญต่อการวางแผน
เมื่อสภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยน อุณหภูมิสูงขึ้น ส่งผลให้สภาพอากาศแปรปรวนอย่างหนัก 2-3 ปีที่ผ่านมาจึงมีภัยพิบัติเกิดขึ้นมากมาย รวมถึงมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ไฟป่า, คลื่นความร้อน เอลนีโญ หรือพายุในมหาสมุทรที่รุนแรงกว่าที่เคยมีมา รวมถึงอุทกภัยที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ทำไมสถานการณ์น้ำท่วมจึงเลวร้ายขึ้น แม้หลายหน่วยงานจะพยายามหาทางรับมือและแก้ไข แต่ก็ดูเหมือนว่าปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่จะขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ […]
-
‘มาตรฐานรถโดยสาร’ ผู้ผลิตต้องใส่ใจ ผู้ใช้ต้องเลือกให้ดี
จากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมไฟไหม้รถบัสวานนี้ ก่อให้เกิดกระแสเรียกร้องถึงการ #ยกเลิกทัศนศึกษา รวมถึงเกิดการตั้งคำถามถึงมาตรการ #ความปลอดภัยสาธารณะ ทั้งเรื่องของรถโดยสาร และแผนการรับมือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ ระบุว่า สาเหตุหลักของอุบัติเหตุจากรถโดยสาร เกิดจากการขับรถเร็ว, ถูกตัดหน้าระยะกระชั้นชิด และการแซงผิดกฎหมายตามลำดับ ขณะที่สถิติล่าสุดจาก […]
-
ถึงเวลาไทยต้องมี Mass Notification แจ้งข่าวสารเตือนภัยถึงประชาชน
จากสถานการณ์อุทกภัยในจังหวัดเชียงรายที่สร้างความเสียหายกระทบในวงกว้าง อันเห็นได้จากภาพที่มีการเผยแพร่ทางโซเชียลมีเดีย ขณะที่นักวิชาการหลายคนก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า นี่คืออุทกภัยที่หนักสุดในรอบ 40 ปี ไม่เพียงภาพความเสียหายและเรื่องของความช่วยเหลือ แต่ทุกครั้งที่เกิดสถานการณ์เช่นนี้ สิ่งหนึ่งที่มักถูกหยิบยกมาเป็นประเด็น คือระบบสื่อสารและการแจ้งเตือนที่ขาดประสิทธิภาพ จนเกิดการตั้งคำถามถึงมาตรการรับมือและแผนเผชิญเหตุที่เหมาะสมกับความปลอดภัยสาธารณะ แจ้งเตือนช้า ประชาชนเคว้ง เมื่อข้อมูลทางการจากหน่วยงานส่งมาไม่ถึงบ้าง ล่าช้าจนความเสียหายเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว […]
ถึงเวลาแล้วหรือยัง? ที่ประเทศไทยต้องมี Public Warning แจ้งเหตุฉุกเฉินสาธารณะ
เป็นอีกครั้งที่เรื่องของความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะ ได้ถูกนำมาพูดถึงอีกครั้ง หลังเกิดเหตุอาชญากรรมในห้างสรรพสินค้าใจกลางกรุง อันนำมาซึ่งความความหวาดกลัวและความสูญเสีย จนเกิดคำถามตามมาว่า ระบบการแจ้งเตือนและรักษาความปลอดภัยที่มีทุกวันนี้เพียงพอแล้วหรือยัง แล้วเหตุใดในประเทศไทยจึงยังไม่มีระบบ Public Warning ที่เหมือนต่างประเทศเสียที
หากยังจำกันได้ก่อนหน้านี้ที่เคยเกิดเหตุลักษณะเดียวกันในบ้านเรา หรือเมื่อครั้งเกิดโศกนาฏกรรมอิแทวอนในประเทศเกาหลี ก็ได้มีการพูดถึงระบบการแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน หรือ Mass Notification ผ่านข้อความ Cell Broadcast ที่ส่งตรงถึงโทรศัพท์มือถือของประชาชนโดยตรงกันมาแล้ว โดยหลายประเทศที่มีการนำระบบนี้มาใช้และเรียกชื่อระบบต่างกันไป เช่น
- EAS ของ สหรัฐอเมริกา
- Korean Public Alert Service ของเกาหลีใต้
- J-Alert ของญี่ปุ่น
- Public Warning System ของไต้หวัน
- ECBS ของฟิลิปปินส์
- Fr-Alert ของฝรั่งเศส
- และ EU-Alert ที่ใช้กันในสหภาพยุโรป รวมถึงในประเทศอื่น ๆ อีก 20 ประเทศทั่วโลก
ขณะที่ล่าสุดเมื่อเดือนที่ผ่านมา อิตาลีก็ได้มีการทดสอบระบบแจ้งเตือน IT-Alert ตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ส่วนในประเทศไทยเองจะมีการนำระบบการแจ้งเตือนสาธารณะของกรมอุตุนิยมวิทยามาใช้ เพื่อแจ้งเตือนภัยพิบัติภายในพื้นที่เสี่ยงบางแห่ง แต่ระบบจากภาครัฐหรืองานความมั่นคงที่ควรนำมาใช้ในวงกว้างร่วมมือกับค่ายโทรศัพท์มือถือ เพื่อแจ้งเตือนเหตุอุบัติภัย เหตุอาชญากรรม หรือโศกนาฏกรรมร้ายแรง “กลับยังไม่มี” มีเพียงระบบแจ้งเตือนจากภาคเอกชน หรือข่าวสารจากประชาชนในโลกโซเชียลที่ในบางครั้งเต็มไปด้วยข้อมูลลวง
ทั้งนี้ กรณีการนำระบบแจ้งเตือนผ่าน SMS มาใช้ ที่เห็นได้ชัดในบ้านเรา ก็เช่น SMS แจ้งเตือนสึนามิ อย่าง Phuket SOS ของจังหวัดภูเก็ต และแอปพลิเคชัน THAI DISASTER ALERT ที่มีฟีเจอร์การแจ้งเตือนจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ขณะที่ตามท้องถิ่นบางแห่งมีการแจ้งเตือนผ่านกลุ่มไลน์ หรือผ่านระบบที่ใช้กันเองในท้องถิ่น
และแม้จะเป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นอีก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่านี่อาจไม่ใช่ครั้งสุดท้าย ฉะนั้นควรถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ รวมถึงผู้ประกอบการและภาคเอกชน ควรหันมาให้ความสำคัญกับระบบการแจ้งเตือน และระบบรักษาความปลอดภัยสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ ที่ประชาชนในทุกพื้นที่สามารถเข้าถึงได้
หลังจากนี้คงต้องมาดูกันว่า เมื่อประชาชนเรียกร้องระบบความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ กระทั่งในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 4 ต.ค.ที่ผ่านมา ได้มีการกล่าวถึงมาตรการตรวจอาวุธในพื้นที่สาธารณะ การเตือนภัยสาธารณะในเหตุฉุกเฉิน รวมถึงประเด็นเรื่องระบบรักษาความปลอดภัย และระบบ SMS แจ้งเตือนจากรัฐ…แล้วหน่วยงานใดบ้างจะเห็นความสำคัญ ผลักดันให้เกิดระบบ Public Safety ที่เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริงเสียที
และในฐานะที่ Security Pitch เป็นองค์กรมองเห็นความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัย และมีความพยายามในการสร้างระบบนิเวศด้านความปลอดภัยที่ไร้รอยต่อในสังคม ขอไว้อาลัยให้กับการสูญเสียในครั้งนี้ และคาดหวังว่าในสักวันหนึ่งความปลอดภัยสาธารณะจะถูกให้ความสำคัญอย่างเต็มรูปแบบ และไม่เกิดเหตุการณ์ขึ้นซ้ำรอยอีกต่อไป
.
ล่าสุด เมื่อเวลา 13.13 น. เพจ สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว ได้ออกมาเปิดเผยว่าทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม กำลังมีการพัฒนาระบบการแจ้งเตือน เจาะแบบเจาะจงพื้นที่ บริเวณทำเนียบรัฐบาล ด้วยระบบ SMS ผ่านเครือข่าย AIS และ True โดยในเวลาต่อมา โฆษกประจำประธาน กสทช. เปิดเผยว่า กสทช. ได้หารือกับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทุกราย และยืนยันความพร้อมในการจัดทำ ‘ระบบเตือนภัยฉุกเฉิน’ ผ่าน SMS แบบ Location Base Service System ที่สามารถทำได้ทันที และจะมีพัฒนาระบบ การเตือนภัยแบบ Cell Broadcast System ซึ่งเป็นการเตือนแบบเรียลไทม์ และเป็นอัตโนมัติแม้ปิดเครื่อง ซึ่งคาดว่าจะสามารถให้สามารถใช้งานได้จริงภายใน 1 ปี
สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับ OneForce
Tel. : 081-972-2500
Line : @securitypitch
Email : [email protected]